วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

รูปแบบต่างๆของการเล่น

 9. รูปแบบต่างๆของการเล่น


9.1 ลูกบอลที่อยู่ในการเล่น (BALL IN PLAY)
ลูกบอลจะอยู่ในการเล่นตั้งแต่ขณะที่ทำการเสิร์ฟ โดยผู้ตัดสินที่ 1 เป็นผู้อนุญาต (กติกาข้อ 13.3)

9.2 ลูกบอลที่ไม่ได้อยู่ในการเล่น หรือลูกตาย (BALL OUT OF PLAY)
ลูกบอลที่ไม่ได้อยู่ในการเล่น ตั้งแต่ขณะที่มีการทำผิดกติกาซึ่งผู้ตัดสินคนใดคนหนึ่งจะเป็นผู้ให้สัญญาณนกหวีด การทำผิดกติกาสิ้นสุดลงพร้อมๆกับสัญญาณนกหวีด

9.3 ลูกบอลอยู่ในสนาม (BALL IN)
ลูกบอลอยู่ในสนาม เมื่อลูกบอลถูกพื้นสนามแข่งขันรวมทั้งเส้นเขตสนาม (กติกาข้อ 1.1, 1.3.2)

9.4 ลูกบอลออกนอกสนาม (BALL OUT)
ลูกบอลออกนอกสนามเมื่อ
9.4.1 บางส่วนของลูกบอลตกลงบนพื้น นอกเส้นเขตสนามอย่างสมบูรณ์
9.4.2 ลูกบอลถูกสิ่งของที่อยู่ภายนอกสนาม เพดาน หรือผู้ที่ไม่ได้แข่งขันด้วย
9.4.3 ลูกบอลถูกเสาอากาศ เชือก เสา หรือตาข่ายที่อยู่นอกแถบข้าง (กติกาข้อ 2.3)
9.4.4 ลูกบอลข้ามตาข่าย นอกเขตแนวตั้งที่กำหนดให้ลูกบอลผ่านอย่างสมบูรณ์หรือเพียงบางส่วน
(ยกเว้นกรณีกติกาข้อ 11.1.2, 11.1.1)
9.4.5 ลูกบอลลอดใต้ตาข่ายไปยังแดนของทีมตรงข้ามอย่างสมบูรณ์


ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน

  4.ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน(PARTICIPANTS)



4.1 ส่วนประกอบของทีม (TEAM COMPOSITION)
4.1.1 ทีมประกอบด้วยผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้ฝึกสอน คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน คน เทรนเนอร์ 1คน และแพทย์ คน
สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ แพทย์ต้องขึ้นทะเบียน
กับสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติก่อนการแข่งขัน
4.1.2 ผู้เล่นคนหนึ่งของทีมที่ไม่ใช่ตัวรับอิสระ (LIBERO PLAYER) ต้องเป็นหัวหน้าทีมและจะระบุไว้ในใบบันทึกการแข่งขัน
4.1.3 ผู้เล่นที่มีชื่ออยู่ในใบบันบันทึกการแข่งขันเท่านั้นจึงจะลงสนามและร่วมการแข่งขันได้ เมื่อผู้ฝึกสอนและหัวหน้าทีม (TEAM CAPTAIN) ลงชื่อในใบบันทึกการแข่งขันแล้วจะเปลี่ยนแปลงผู้เล่นอีกไม่ได้

4.2 ตำแหน่งที่อยู่ของทีม (LOCATION OF THE TEAM)
4.2.1 ผู้เล่นที่ไม่ได้ลงแข่งขันควรนั่งม้านั่งหรืออยู่ในพื้นที่อบอุ่นร่างกายของทีมตนเอง ผู้ฝึกสอนและผู้ร่วมทีมคนอื่น
ต้องนั่งบนม้านั่ง แต่อาจลุกจากม้านั่งเป็นครั้งคราว ม้านั่งของทีมตั้งอยู่ข้าง ๆ โต๊ะผู้บันทึก นอกเขตรอบสนาม
4.2.2 เฉพาะผู้ร่วมทีมเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้นั่งม้านั่งระหว่างการแข่งขันและร่วมการอบอุ่นร่างกายก่อนการแข่งขัน
4.2.3 ผู้เล่นที่ไม่ได้ลงแข่งขันสามารถอบอุ่นร่างกายโดยไม่ใช่ลุกบอลได้ดังนี้
4.2.3.1 ระหว่างการแข่งขันในพื้นที่อบอุ่นร่างกาย
4.2.3.2 ระหว่างขอเวลานอกและเวลาเทคนิคในเขตรอบสนามด้านหลังแดนของทีมตนเอง
4.2.4 ช่วงพักระหว่างเชต ผู้เล่นสามารถอบอุ่นร่างกายโดยใช้ลูกบอลได้ในเขตรอบสนามของทีมตนเอง

4.3 เครื่องแต่งกาย (EQUIPMENT)
เครื่องแต่งกายของผู้เล่นประกอยด้วย เสื้อยืด กางเกงขาสั้น ถุงเท้า (ชุดแข่งขัน) และรองเท้า
4.3.1 สีและแบบของเสื้อยืด กางเกงขาสั้น และถุงเท้าต้อง เหมือนกันทั้งทีม (ยกเว้นตัวรับอิสระ LIBERO PLAYER) และสะอาด
4.3.2 รองเท้าต้องเบาและอ่อนนุ่ม พื้นเป็นยางหรือหนังไม่มีส้น สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอล
นานาชาติและ การแข่งขันอย่างเป็นทางการในรุ่นที่ไม่กำจัดอายุสีรองเท้าต้องเป็นสีเดียวกันทั้งทีม แต่เครื่องหมาย
การค้าอาจมีสีแตกต่างกันได้ เสื้อและกางเกงต้องเป็นไปตามมาตรฐานของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
4.3.3 เสื้อผู้เล่นต้องมีเครื่องหมาย 1 – 18
4.3.3.1 ต้องติดเครื่องที่กลางอกและกลางหลังสีของเครื่องหมายเลขต้องตัดกับสีเสื้ออย่างชัดเจน
4.3.3.2 หมายเลขด้านหน้าต้องสูงอย่างน้อยที่สุด 15 เซนติเมตร ด้านหลังอย่างน้อยที่สุด 20 เซนติเมตร และความกว้างของแถบที่ทำหมายเลข ต้องกว้างอย่างน้อยที่สุด เซนติเมตร
4.3.4 หัวหน้าทีมต้องมีแถบยาว เซนติเมตร กว้าง เซนติเมตร ติดอยู่ใต้หมายเลขตรงอกเสื้อ
4.3.5 ห้ามใส่ชุดแข่งขันที่มีหมายเลขไม่ถูกต้อง หรือชุที่มีสีแตกต่างจากผู้เล่นอื่น

4.4 การเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย (CHANGE OF EQUIPMENT)
ผู้ตัดสินคนที่ มีอำนาจที่จะให้ผู้เล่น คน หรือมากกว่า
4.4.1 ลงแข่งขันโดยไม่สวมรองเท้าก็ได้
4.4.2 เปลี่ยนชุดที่เปียกช่วงพักระหว่างเชต หรือหลังจากการเปลี่ยนตัวได้ โดยสี แบบ และหมายเลขของชุดใหม่ต้องเหมือนับชุดเดิม
4.4.3 สวมชุดวอร์มลงแข่งขันได้ ถ้าอากาศหนาว ถ้าสีและแบบของชุควอร์ม
เหมือนกันทั้งทีม และหมายเลขต้องเป็นไปตามปกติ
4.5 สิ่งที่ห้ามสวมใส่ (FORBIDDEN OBJECTS)
4.5.1 ห้ามสวมใส่สิ่งของซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการบาดเจ็บหรือช่วยให้ผู้เล่นได้เปรียบผู้อื่น
4.5.2 ผู้เล่นอาจสวมแว่นตาหรือคอนเทคเลนซ์ได้ โดยรับผิดชอบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นด้วยตัวเอง

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การเล่นลูกบอล

10. การเล่นลูกบอล


แต่ละทีมต้องเล่นลูกบอลภายในพื้นที่เล่นลูกและที่ว่างของทีมตนเอง (ยกเว้นกติกาข้อ 11.1.2) อย่างไรก็ตามผู้เล่นสามารถนำบอลที่ออกไปนอกเขตรอบสนามกลับมาเล่นต่อได้
10.1 การถูกลูกบอลของทีม (TEAM HITS)
ทีมถูกลูกบอลได้มากที่สุด 3 ครั้ง (นอกจากทำการสกัดกั้นตามกติกาข้อ 15.4.1) เพื่อส่งลูกบอลกลับไปยังทีมตรงข้าม ถ้าถูกลูกบอลมากกว่านี้ ถือว่าทีมทำผิดกติกา ถูกลูก 4 ครั้งการถูกลูกบอลของทีม นับรวมทั้งที่ผู้เล่นตั้งใจถูกหรือไม่ตั้งใจถูกก็ตาม
10.1.1 การถูกลูกบอลอย่างต่อเนื่อง (CONSECUTIVE CONTACTS) ผู้เล่นจะถูกลูกบอล 2 ครั้งติดต่อกันไม่ได้ (ยกเว้นกติกาข้อ 10.2.3, 15.2, 15.4.2)
10.1.2 การถูกลูกบอลพร้อมกัน (SIMULTENEOUS CONTACTS) ผู้เล่น 2 คนหรือ 3 คนอาจถูกลูกบอลพร้อมๆกันได้ในเวลาเดียวกัน
10.1.2.1 เมื่อผู้เล่นทีมเดียวกัน 2 คน (3 คน) ถูกบอลพร้อมๆกัน จะถือว่าเป็นการถูกบอล 2 ครั้ง (3 ครั้ง) ยกเว้นเมื่อทำการสกัดกั้น ถ้าผู้เล่นหลายคนถึงลูกบอลพร้อมกัน แต่มีผู้เล่นถูกลูกบอลเพียงคนเดียว จะถือว่าถูกลูกบอล 1 ครั้ง ถึงแม้ว่าผู้เล่นชนกันก็ไม่ถือว่าผิดกติกา
10.1.2.2 เมื่อทั้งสองทีมถูกลูกบอลพร้อมๆกันเหนือตาข่าย และยังเล่นลูกบอลนั้นต่อไปได้ ทีมรับที่รับลูกนั้นสามารถถูกลูกบอลได้อีก 3 ครั้ง ถ้าลูกบอลออกนอกสนาม จะถือว่าทีมที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับลูกบอลเป็นฝ่ายทำลูกบอลออกนอกสนาม
10.1.2.3 ถ้าการถูกลูกบอลพร้อม ๆ กันทั้งสองทีมเป็นการจับลูก (CATCH) จะถือว่าผิดกติกาทั้งสองทีม และต้องเล่นลูกนั้นใหม่ 
10.1.3 การเล่นลุกบอลโดยมีกาช่วยเหลือ (ASSISTED HIT) ภายในบริเวณพื้นที่เล่น ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นอาศัย
เพื่อนร่วมทีมหรือสิ่งใด ๆ ช่วยให้ไปถึงลูกบอลได้ อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นที่กำลังจะทำผิดกติกา
(โดยกำลังจะถูกตาข่ายหรือเส้นขั้นเขตแดน) อาจถูกฉุดหรือดึงโดยเพื่อนร่วมทีมได้

10.2 การถูกลูกบอลในลักษณะต่าง ๆ (CHARACTERISTICS OF THE HIT)
10.2.1 ลูกบอลอาจถูกส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้
10.2.2 การถูกลูกบอลต้องเป็นการกระทบ ไม่ใช่จับหรือโยน ลูกบอลจะสะท้อนกลับในทิศทางใดก็ได้
10.2.3 ลูกบอลอาจถูกหลายส่วนของร่างกายได้ ถ้าการถูกนั้นเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน
10.2.3.1 ในการสกกัดกั้น ลูกบอลอาจถูกผู้สกัดกั้นคนเดียวหรือมากกว่าติดต่อกันได้ ถ้าการถูกลูกบอลเป็นลักษณะการเล่นลูกบอลเพียงครั้งเดียว
10.2.3.2 การถูกลูกบอลครั้งแรกของทีม ลูกบอลอาจถูกส่วนต่าง ๆ ของร่างกายต่อเนื่องกันได้ ถ้าการถูกลูกบอลเป็นลักษณะการเล่นลูกครั้งเดียว

10.3 การทำผิดกติกาในการเล่นลูกบอล (FAULT IN PLATING THR BALL)
10.3.1 การถูกลูกบอล 4 ครั้ง ทีมถูกลูกบอล 4 ครั้งก่อนส่งลูกบอลไปยังทีมตรงข้าม
10.3.2 การถูกลูกบอลโดยมีการช่วยเหลือ ผู้เล่นอาศัยเพื่อนร่วมทีมหรือสิ่งของใด ๆ ช่วยให้เข้าถึงลูกบอลภายในบริเวณพื้นที่เล่นลูก
10.3.3 การจับลูกบอล ผู้เล่นไม่ได้กระทบลูกแต่จับและ / หรือโยนลูกบอล
10.3.4 การถูกลูกบอลติดต่อกัน 2 ครั้ง ผู้เล่นถูกลูกบอล 2 ครั้ง หรือถูกส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในการเล่นลูก 1ครั้ง



การเปลี่ยนตัว

8. การเปลี่ยนตัว


การเปลี่ยนตัว คือ การที่ผู้เล่นคนหนึ่งออกจากสนาม และผู้เล่นอีกคนหนึ่งข้าไปแทนในตำแหน่งนั้น หลังจากผู้บันทึกได้บันทึกการเปลี่ยนตัว (ยกเว้นตัวบันทึกอิสระ) การเปลี่ยนตัวต้องได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน
8.1 ข้อจำกัดขอกการเปลี่ยนตัว (LIMIYION OF SUBSTITUTION)
8.1.1 ทีมหนี่งจะเปลี่ยนตัวได้มากที่สุด 6 คนต่อเซต การเปลี่ยนตัวแต่ละครั้งจะเปลี่ยนเพียง 1 คน หรือมากกว่าก็ได้
8.1.2 ผู้เล่นที่เริ่มต้นเล่นในเซตนั้นจะเปลี่ยนตัวออกได้หนึ่งครั้งและกลับมาเข้าไปเล่นได้อีกหนึ่งครั้ง ในตำแหน่งเดิม ตามใบส่งตำแหน่ง
8.1.3 ผู้เล่นสำรองจะเปลี่ยนเข้าแทนผู้เล่นที่เริ่มต้นเล่นในเซตนั้นได้เพียงครั้งเดียวในแต่ละเซต 
และผู้ที่จะเปลี่ยนตัวเข้ามาแทนผู้เล่นสำรองต้องเป็นผู้เล่นคนเดิมเท่านั้น

8.2 การเปลี่ยนตัวที่ได้รับการยกเว้น (EXCEPTIONAL SUBSTITUTION)
ผู้เล่นที่ได้รับบาดเจ็บ (ยกเว้นผู้รับอิสระ) จนแข่งขันต่อไปไม่ได้ จะเปลี่ยนตัวตามกติกา ถ้าเปลี่ยนตัวตามกติกาไม่ได้ ทีมนั้นจะได้รับการยกเว้นให้เปลี่ยนได้ นอกเหนือจากกติกาที่กำหนดไว้ใน การเปลี่ยนตัวที่ได้รับยกเว้นจะไม่นับรวม 
กับการเปลี่ยนตัวตามปกติ ไม่ว่ากรณีใด

8.3 การเปลี่ยนตัวผู้เล่นที่ถูกทำโทษออกจากการแข่งขันหรือขาดคุณสมบัติที่จะแข่งขันหรือ
ขาดคุณสมบัติที่จะแข่งขัน (SUBSTITUTION FOR EXPULSION OR DISQUALIFICATION)
ผู้เล่นที่ถูกทำโทษให้ออกจากการแข่งขันหรือขาดคุณสมบัติที่จะแข่งขัน ต้องทำการเปลี่ยนตัวตามกติกา 
ถ้าทำการเปลี่ยนตัวตามกติกาไม่ได้ จะถือว่าทีมนั้นเป็นทีมที่ไม่พร้อมจะแข่งขัน

8.4 การเปลี่ยนตัวที่ผิดกติกา (ILLEGAL SUBSTITUTION)
8.4.1 การเปลี่ยนตัวจะผิดกติกา ถ้านอกเหนือจากข้อจำกัดที่กำหนดไว้ในกติกาข้อ 8.1 
8.4.2 เมื่อทีมทำการเปลี่ยนตัวผิดกติกา และการแข่งขันได้เล่นต่อไปแล้วจะต้องดำเนินการดังนี้ (กติกาข้อ 9.1)
8.4.2.1 ทีมถูกลงโทษให้เป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้น 
8.4.2.2 แก้ไขการเปลี่ยนตัวให้ถูกต้อง
8.4.2.3 คะแนนที่ทำได้ตั้งแต่ทำผิดกติกาของทีมนั้นจะถูกตัดออก ส่วนคะแนนของทีมตรงข้ามยังคงไว้ตามเดิม


โครงสร้างของการแข่งขัน

7.โครงสร้างของการแข่งขัน


7.1 การเสี่ยง (TOSS)
ก่อนการแข่งขัน ผู้ตัดสินที่ 1 จะทำการเสี่ยงเพื่อตัดสินว่าทีมใดจะทำการเสิร์ฟก่อนหรืออยู่แดนใด ในเซตที่ 1
ถ้าต้องการแข่งขันเซตตัดสินจะต้องทำการเสี่ยงใหม่อีกครั้งหนึ่ง
7.1.1 การเสี่ยงต้องทำโดยมีหัวหน้าทีมทั้งสองทีมร่วมอยู่ด้วย
7.1.2 ผู้ชนะการเสี่ยงจะสิทธิเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
7.1.2.1 เลือกเสิร์ฟหรือรับลูกเสิร์ฟ 
7.1.2.2 เลือกแดนใดแดนหนึ่งของสนามก็ได้ ผู้แพ้การเสี่ยงจะได้รับส่วนที่เหลือ
7.1.3 ในกรณีที่ทำการอบอุ่นร่างกายมาพร้อมกัน ทีมที่ทำกาเสิร์ฟก่อนจะทำการอบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายก่อน

7.2 การอบอุ่นร่างกาย (WARM-UP SESSION)
7.2.1 ก่อนการแข่งขัน ถ้าทีมมีสนามอบอุ่นร่างกายที่จัดไว้ให้แล้ว แต่ละทีมจะทำการอบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายได้ทีมละ 5 นาที
7.2.2 ถ้าหัวหน้าทีมทั้งสองตกลงทำการอบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายพร้อมกันจะอบอุ่นร่างกายได้ 6 นาที หรือ 10 นาที 

7.3 ตำแหน่งการเริ่มต้นของทีม (TEAM STARTING LINE-UP)
7.3.1 ทีมต้อมีผู้เล่น 6 คนเสมอ ในการแข่งขันตำแหน่งเริ่มต้นของทีม แสดงถึงลำดับการหมุนตำแหน่งของผู้เล่นในสนามลำดับนี้ตะคงอยู่ตลอดเวลานั้น
7.3.2 ก่อนการเริ่มแข่งขันแต่ละเซตผู้ฝึกสอนต้องแจ้งตำแหน่งเริ่มต้นเล่นทีมของตนเองในใบส่งตำแหน่ง ซึ่งเขียนหมายเลขของผู้เล่นและลงชื่อกำกับแล้ว ส่งให้ผู้ตัดสินที่ 2 หรือผู้บันทึกการแข่งขัน
7.3.3 ผู้เล่นที่ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเริ่มต้นเล่นของทีม จะเป็นผู้เล่นสำรองในเซตนั้น
7.3.4 เมื่อใบส่งตำแหน่งเริ่มต้นเล่น ถูกนำส่งให้ผู้ตัดสินที่ 2 หรือผู้บันทึกการแข่งขันแล้ว จะไม่อนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลงใบส่งตำแหน่งอีก นอกจากต้องการทำการเปลี่ยนตัวผู้เล่นตามปกติ
7.3.5 ถ้าพบว่ามีการผิดพลาดระหว่างใบส่งตำแหน่งกับตำแหน่งของผู้เล่นในสนาม 
7.3.5.1 ถ้าพบว่ามีการผิดพลาดก่อนเริ่มการแข่งขันของเซต ผู้เล่นต้องเปลี่ยนตำแหน่งให้เป็นไปตามใบส่งตำแหน่งโดยไม่มีการลงโทษ
7.3.5.2 อย่างไรก็ตามถ้าผู้ฝึกสอนต้องการให้ผู้เล่นเปลี่ยนที่ไม่ได้ระบุไว้ในใบส่งตำแหน่ง ยังคงอยู่ในสนาม ผู้ฝึกสอนต้องของเปลี่ยนตัวตามปกติและต้องบันทึกลงในใบบันทึกการแข่งขัน

7.4 ตำแหน่ง (POSITIONS)
ขณะที่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟลูกบอล แต่ละทีมต้องอยู่ในแดนของตนเองตามลำดับการหมุมตำแหน่ง
7.4.1 ตำแหน่งของผู้เล่นจำแนกได้ดังนี้
7.4.1.1 ผู้เล่นแถวหน้า 3 คน ที่อยู่ใกล้ตาข่ายเป็นผู้เล่นแถวหน้าอยู่ในตำแหน่งที่ 4 ตำแหน่งที่ 3 และตำแหน่งที่ 2 
7.4.1.2 ส่วนอีก 3 คน เป็นผู้เล่นแถวหลังอยู่ในตำแหน่งที่ 5 ตำแหน่งที่ 6 ตำแหน่งที่ 1 
ตำแหน่งของผู้เล่นจะถือตำแหน่งของเท้าที่แตะพื้น เป็นเครื่องหมายกำหนด                                                             
                                                        ตำแหน่งและหน้าที่ของผู้เล่น

                 หมายเลข ๑ ตำแหน่ง หลังขวา มีหน้าที่เสิร์ฟและรับลูกบอลป้อนไปยังแดนหน้า
     หมายเลข ๒ ตำแหน่ง หน้าขวา มีหน้าที่สกัดกั้น เล่นลูกบอลหน้าตาข่าย
      หมายเลข ๓ ตำแหน่ง หน้ากลาง มีหน้าที่สกัดกั้น เล่นลูกบอลหน้าตาข่าย
     หมายเลข ๔ ตำแหน่ง หน้าซ้าย มีหน้าที่สกัดกั้น เล่นลูกบอลหน้าตาข่าย
         หมายเลข ๕ ตำแหน่ง หลังซ้าย มีหน้าที่รับและป้อนลูกบอลไปยังแดนหน้า
           หมายเลข ๖ ตำแหน่ง กลางหลัง มีหน้าที่รับและป้อนลูกบอลไปยังแดนหน้า

7.4.2 ความเกี่ยวข้องของตำแหน่งระหว่างผู้เล่น
7.4.2.1 ผู้เล่นแถวหลังแต่ละคนต้องมีตำแหน่งอยู่ด้านหลังทั้งคู่ของตนเองที่เป็นผู้เล่นแถวหน้า
7.4.2.2 ผู้เล่นแถวหน้าและแถวหลังแต่ละคู่ต้องอยู่ในตำแหน่งข้างเดียวกันตามลำดับการหมุนตำแหน่งที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 7.4.1
7.4.3 ตำแหน่งของผู้เล่นจะพิจารณาและควบคุมจากตำแหน่งของเท้าที่สัมผัสพื้น ดังนี้
7.4.3.1 ผู้เล่นแถวหน้าแต่ละคนต้องมีส่วนหนึ่งส่วนใดของรองเท้าอยู่ใกล้เส้นแบ่งแดนมากกว่าเท้าของผู้เล่นแดนตน
7.4.3.2 ผู้เล่นที่อยู่ทางขวา (หรือทางซ้าย) ต้องมีส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าใกล้กับเส้นทางขวา (หรือซ้าย) มากกว่าผู้เล่นที่อยู่ตำแหน่งกลางของแถวเดียวกัน
7.4.4 เมื่อทำการเสิร์ฟลูกบอลออกไปแล้ว ผู้เล่นสามารถเคลื่อนที่ไปอยู่ตำแหน่งใดก็ได้ในแดนและเขตรอบสนามตน

7.5 การผิดตำแหน่ง (POSITIONAL FAULT)
7.5.1 ทีมจะผิดตำแหน่ง ถ้าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งไม่อยู่ไม่อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ขณะที่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟลูกบอล 
7.5.2 ถ้าผู้เสิร์ฟเสิร์ฟผิดกติกาขณะที่ทำการเสิร์ฟ จะถือว่าการเสิร์ฟผิดปกติเกิดขึ้นก่อนการผิดตำแหน่งของทีมตรงข้าม
7.5.3 ถ้าการเสิร์ฟผิดกติกาหลังจากทำการเสิร์ฟออกไปแล้ว จะถือว่าการผิดตำแหน่งเกิดขึ้นก่อน
7.5.4 การทำผิดตำแหน่งจะมีผลตามมาดังนี้
7.5.4.1 เป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้น
7.5.4.2 เปลี่ยนตำแหน่งของผู้เล่นให้ถูกต้อง

7.6 การหมุนตำแหน่ง (ROTATION)
7.6.1 ลำดับการหมุนตำแหน่งจะเป็นไปตามใบส่งตำแหน่งเริ่มต้นของทีมและควบคุมด้วยลำดับการเสิร์ฟและ
ตำแหน่งของผู้เล่นตลอดทั้งเซต 
7.6.2 เมื่อทีมที่รับลูกเสิร์ฟได้สิทธ์ในการทำเสิร์ฟ ผู้เล่นต้องหมุนต้องหมุนไปตามเข็มนาฬิกาไป 1 ตำแหน่ง
                                                  การหมุนตำแหน่งผู้เล่น





7.7 การหมุนตำแหน่งผิด (ROTATIONAL FAULT)
7.7.1 การหมุนตำแหน่งผิดเกิดขึ้นเมื่อ การเสิร์ฟไม่เป็นไปตามตำแหน่งการหมุนตำแหน่ง และมีผลตามมาดังนี้
7.7.1.1 เป็นฝ่ายแพ้ในเล่นลูกครั้งนั้น
7.7.1.2 ต้องเปลี่ยนตำแหน่งของผู้เล่นให้ถูกต้อง
7.7.2 นอกจากนั้น ผู้บันทึกต้องตัดสินใจหยุดการแข่งขันทันทีที่มีการผิดตำแหน่ง และยกเลิกคะแนนที่ได้ทำทั้งหมด
ขณะที่ผิดตำแหน่งส่วนคะแนนของที่ทำได้ทั้งหมดขณะผิดตำแหน่งส่วนคะแนนของทีมตรงข้ามให้คงไว้คงเดิม
ถ้าคะแนนขณะผิดตำแหน่งไม่สามารถตรวจพบได้ให้ลงทาเพียงเป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้นเท่านั้น

ลูกบอล

3. ลูกบอล


3.1 มาตรฐาน (STANDARD)
ลูกบอลต้องกลม ทำด้วยหนังฟอกหรือหนังสังเคราะห์ที่ยืดหยุ่นได้ ห่อหุ้มลูกบอลทรงกลมที่ทำด้วยยาง หรือวัสดุ
ที่คล้ายคลึงกัน สีของลูกบอลอาจเป็นสีอ่อน ๆ เหมือนกันทั้งลูก หรืออาจเป็นหลายสีผสมกันก็ได้ ลูกบอลซึ่งทำด้วย
วัสดุที่เป็นหนังสังเคราะห์มีหลายสีผสมกันและจะใช้ในการแข่งขันระดับนานาชาติอย่างเป็นทางการ ต้องมีมาตรฐาน
ตามที่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติกำหนด ลูกบอลต้องมีแรงดันลม 0.30 – 0.325 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร 
ลูกบอลต้องมีเส้นรอบวงกลม 65 – 67 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 260 – 280 กรัม

3.2 รูปแบบของลูกบอล (UNIFORMITY OF BALLS)
ลูกบอลที่ใช้ในการแข่งขันต้องมีเส้นรอบวง น้ำหนัก แรงอัด ชนิดและสีตามาตรฐานเดียวกัน การแข่งขันระดับโลก
ของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและรวมทั้งระดับชาติ หรือการแข่งขันลีก (League) ของแต่ละประเทศต้อง 
ใช้ลูกบอลที่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติรับรองเท่านั้น เว้นแต่ได้รับการยินยอมจากสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ

3.3 ระบบการใช้ลูกบอล 3 ลูก (THREE – BALL SYSTEM)
การแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ จะใช้ลูกบอล 3 ลูก โดยมีผู้กลิ้งบอล 6 คน ประจำที่มุมของเขตรอบสนามทั้งสี่มุม มุมละ 1 คน และข้างหลังผู้ตัดสินด้านละ 1 คน



ตาข่าย และเสาขึงตาข่าย

2. ตาข่าย และเสาขึงตาข่าย


2.1 ความสูงของตาข่าย (HEIGHT OF THE NET)
2.1.1 ตาข่าย ขึงเป็นแนวตั้งเหนือเส้นเบ่งแดน สำหรับทีมชาย ขอบบนสุดต้องสูงจากพื้นที่ 2.43 เมตร ทีมหญิง 2.24 
เมตร
2.1.2 ความสูงของตาข่าย วัดที่กึ่งกลางของสนามความสูงของตาข่าย (เหนือเส้นทั้งสอง) ต้องสูงเท่ากัน 
แต่จะสูงเกินกว่าความสูงที่กำหนด 2 เซนติเมตรไม่ได้

2.2 โครงสร้าง (STRUCTURE)
ตาข่ายมีความกว้าง 1 เมตร และยาว 9.50 ถึง 10.00 เมตร (โดยมีความยาวเหลืออยู่ 25 ถึง 50 เซนติเมตร จากแถบข้างแต่ละด้าน) ทำด้วยวัสดุสีดำ เป็นตาสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาด 10 เซนติเมตร ที่ขอบบนของตาข่าย
มีแถบขนานกับพื้นพับ 2 ชั้น สีขาว กว้าง 7 เซนติเมตร เย็บติดตลอดความยาวของตาข่าย ที่ปลายสุดแต่ละข้าง
เจาะรูไว้ข้างละ 1 รู เพื่อร้อยเชือกผูกกับเสาขึง ตาข่ายดึงให้แถบบนสุดของตาข่ายตึง ภายในแถบมีสายที่ยืดหยุ่น
ได้สำหรับผูกกับเสา เพื่อทำให้ส่วนบนสุดของตาข่ายตึง ที่ตาข่ายด้านล่างมีแถบขนานกับพื้นกว้าง 5 เซนติเมตร 
ภายในแถบมีสายที่หยืดหยุ่นได้สำหรับผูกกับเสาเพื่อให้ส่วนล่างของตาข่ายตึง

2.3 แถบข้าง (SIDE BANDS)
แถบสีขาว 2 เส้น ผูกในแนวตั้งกับตาข่ายเหนือทั้ง 2 เส้น แถบข้างกว้าง 5 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตาข่าย

2.4 เสาอากาศ (ANTENNAE)
เสาอากาศเป็นแท่งกลมยืดหยุ่นได้ ยาว 1.80 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร ทำด้วยใยแก้วหรือวัสดุที่คล้ายคลึง
กันเสาอากาศแต่ละต้นถูกยึดติดอยู่ที่ริมด้านนอกของแถบข้างทั้งสอง แต่อยู่คนละด้านของตาข่าย ส่วนบนสุดของเสา
อากาศ ถือเป็นสีสลับกันเป็นช่วง ๆ ยาวช่องละ 10 เซนติเมตร ส่วนมากแล้วนิยมใช้สีแดงและขาว เสาอากาศถือเป็น
ส่วนหนึ่ง ของตาข่าย เป็นแนวขนานที่กำหนดพื้นที่ข้ามตาข่าย

2.5 เสาขึงตาข่าย (POSTS)
2.5.1 เสาขึงตาข่ายยึดติดกับพื้นสนาม ห่างจากเส้นข้าง 0.50 – 1.00 เมตร มีความสูง 2.55 เมตร สามารถปรับ
ระดับได้ สำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เสาขึง
ตาข่ายยึดติดกับพื้นสนาม ห่างจากเส้นข้าง 1 เมตร เว้นแต่ว่า ได้รับการยินยอมจากสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
2.5.2 เสาขึงตาข่ายมีลักษณะกลมและเรียบ ยึดติดกับพื้นโดยไม่มีสายยึดเสาและต้องไม่เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตราย
และไม่เป็นสิ่งกีดขวางใด ๆ 

2.6 อุปกรณ์อื่น ๆ (ADDITIONAL EQUIPMENT)
อุปกรณ์อื่นใดให้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงตามระเบียบของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ